ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- กะเหรี่ยง (79)
- จีนฮ่อ (1)
- ถิ่น (1)
- ไทดำ (1)
- ไทย (6)
- ไทยอง (1)
- ไทลื้อ (6)
- ไทหย่า (1)
- ไทใหญ่ (1)
- ปะหล่อง (ว้า) (2)
- ม้ง (แม้ว) (44)
- มูเซอ (ลาหู่) (46)
- เมี่ยน (เย้า) (50)
- มลาบรี (ผีตองเหลือง) (2)
- มอญ (Mon) (160)
- ลานแตน (1)
- ลาว (1)
- ลาวเทิง (2)
- ลีซู (47)
- ลัวะ (ละว้า) (3)
- สามต้าว (1)
- อาข่า (57)
- ชาติพันธุ์อื่นๆ (7)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชนเผ่าลีซู - การเย็บเสื้อผ้า
ชนเผ่าลีซู : การเย็บเสื้อผ้า
ลักษณะ การแต่งกายของหญิงลีซู จะมีความโดดเด่นที่ว่ามีสีสัน และลวดลายหลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะใช้สีแดงเป็นหลัก ในการตกแต่งตั้งแต่ผ้าโพกหัวที่เป็นทรงกลม ตกแต่งด้วยลูกปัด และพู่ประดับหลากสี เวลาสวมใส่จะส่งผลให้ใบหน้าดูโดดเด่น สวยงามยิ่งขึ้น ส่วนตัวเสื้อนั้นเป็นเสื้อแขนยาว คอกลม ทรงตรง จะมีสีหลาย ๆ สี เช่น สีน้ำเงิน ฟ้า เขียว เว้นแต่แขนเสื้อทั้งสองข้างจะเป็นสีแดง ตัวเสื้อด้านข้างผ่าตั้งแต่เอวลงไป ความยาวของด้านหน้าถึงหัวเข่า ส่วนด้านหลังยาวถึงตาตุ่ม ที่คอเสื้อเย็บผ้าดำติดรอบ ๆ ถัดจากนั้นมา ก็ใช้แถบผ้าเล็ก ๆ หลากสีมาเย็บติดกันเป็นแถบ ๆ ลงมาจนถึงบ่า เว้นระยะนิดหนึ่ง แล้วเย็บแถบใหญ่ติดที่ต้นแขนทั้งสองข้าง และที่สายเฉียงด้านหน้าตั้งแต่คอลงมาถึงใต้รักแร้ขวา ที่ขอบเสื้อช่วงผ่าตั้งแต่เอวลงมา ติดแถบผ้าแถบใหญ่สีเดียวกับตัวเสื้อ สำหรับกางเกงนั้น เป็นกางเกงขาก๊วยสีดำ ยาวถึงใต้เข่า ที่เป้าจะหย่อนลงมาจนเกือบถึงหัวเข่า ที่เอวคาดผ้าดำผืนใหญ่ โดยเย็บติดกับด้านหน้าขอบบน ซึ่งจะใช้สีอะไรก็ได้
ส่วนเสื้อกำมะหยี่สีดำ เย็บประดับด้วยเงิน ทรงกลมผ่าซีกรอบ ๆ คอ และอกห้อยเงินเล็ก ๆ เต็มคอเต็มอก ถัดจากอกลงมาถึงหน้าท้อง เป็นเสื้อของชาวลีซูผู้ชาย เสื้อผู้ชายนั้น นิยมใส่เสื้อเชิ้ตที่หาซื้อมาจากในเมือง ส่วนกางเกงนั้นยังนิยมใส่กางเกงลีซูอยู่ เช่น เป็นกางเกงขาก๊วย เป้ากางเกงนั้นหย่อนยาวลงมาเกือบถึงเข่า ส่วนสีนั้นสีอะไรก็ได้แล้วแต่คนชอบสีไหน ยกเว้นแต่สีดำ เพราะผู้ชายจะไม่ใส่สีดำ สีดำนั้นเป็นสีของกางเกงผู้หญิง ตัวเสื้อกำมะหยี่คอกลมแขนยาวสีดำ ผ่าอกมีกระดุมเงินติดไขว้ทางด้านขวาได้รักแร้ ตัวเสื้อจะมีกระเป๋าข้าง ๆ ประดับประดาด้วยเงินเป็นรูปทรงกลมเล็ก ๆ จะเย็บเต็มด้านหน้า และด้านหลัง ตั้งแต่ต้นคอจนถึงไหล่ทั้งสองข้างซึ่งยาวลงมาถึงอก
ลวดลาย
ลักษณะลวดลายพื้นฐานซึ่งเป็นที่รู้จักดีในกลุ่มผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เกิดจากการใช้แถบริ้วผ้าสลับสี ผสมผสานกับลายตัดผ้าปัก จะมีดังนี้
* คัวะเพียะคว้า “ลายหางธน ”
* เพี่ยะกุมาคว้า “ลายหน้าอกเสื้อ”
* อ๊ะหน่ายือ “ลายเขี้ยวหมา” ลายนี้ยิ่งทำเขี้ยวได้เล็กมากเท่าไหร่ แสดงว่าผู้ทำนั้นมีฝีมือดีมาก
* ฟูยีฉี่ “ลายงูเขียว”
* นะหูเมี่ยซืย “ลายหมวกตา”
* อี๊กือจะย่า “ลายริ้วผ้าสลับสี” ใช้สลับหรือกำหนดลาย
ส่วนใหญ่จะสังเกตได้ จากการตกแต่งคอเสื้อของผู้หญิงจะใช้ลายสองลาย คือ ริ้วผ้าสลับสี (อี๊กือจะย่า) ลายเขี้ยวหมา (อ๊ะหน่ายือ) ซึ่งเป็นลายทำง่าย แค่ปรับให้โค้งไปตามแนวรอบคอ ส่วนลายริ้วผ้าสลับสี (อี๊กือจะย่า) และลายเขี้ยวหมา (อ๊ะหน่ายือ) จะใช้ประกอบกับทุกลาย ส่วนลายอื่น ๆ ได้แก่ ลายหางธนู (คัวะเพียะคว้า) ลายหน้าอกเสื้อ (ลายเพียะกุมาคว้า) ลายงูเขียว (ลายฟูยีฉี่) ลายหมวกตา (หน่าหูเมี่ยซือ) ลายนี้ส่วนใหญ่ไม่นิยมนำมารวมกัน เพราะค่อนข้างจะทำยาก และเป็นลายที่โดดเด่นอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้เพียงลายใดลายหนึ่งนำมาเป็นลายหลัก แล้วค่อยตกแต่งประกอบด้วยลายอื่น ๆ ที่ไม่ซับซ้อน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ตกแต่งแขนเสื้อ เข็มขัด และหมวกเด็ก ซึ่งถ้ากล่าวถึงอดีตกับปัจจุบันแล้ว โดยส่วนใหญ่แล้วอดีตจะใช้มือในการตัดเย็บแบบประณีต และมีลวดลายแบบดั้งเดิม แต่ปัจจุบันชาวลีซูได้มีการดัดแปลง ลายบางลายของแบบดั้งเดิมก็เริ่มหายไปบ้าง และปัจจุบันนี้ก็ใช้เครื่องจักรในการตัดเย็บมากขึ้น ซึ่งอาจมีความทนกว่าแบบดั้งเดิม