ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ลวดลายงูหรือนาคในผ้าไทโบราณ (1)
ลวดลายงูหรือนาคในผ้าไทโบราณ
ภาพที่ 1 ภาพสักการะงู ที่ถ้ำเขาเขียน ตำบลเขาปันหยี จังหวัดพังงา
จากคติความเชื่อเรื่องการนับถืองูหรือนาคมีอิทธิพลให้บรรพชนเผ่าไทคิดประดิษฐ์ ลวดลายงูลงบนงานศิลปะ อาทิ บนภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่พบที่ถ้ำเขาสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นลายเชือกทาบ มีลวดลายงูเลื้อยเป็นรูปคลื่น(ภาพที่ 2) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธาตุน้ำต่อมาในสมัยโลหะราว 2,300 – 1,800 ปี พบลวดลายงูเลื้อยบนภาชนะดินเผาลายเขียนสี ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (ภาพที่ 3) บรรพชนเผ่าไทคงจะได้นำลวดลายงูหรือนาคมาทอลงผืนผ้าเพื่อใช้ในพิธีกรรมาแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏการทอลวดลายงูหรือนาคบนผืนผ้าไททุกเผ่า อาทิ บนผ้ามัดหมี่ไทอีสาน ลายนาคเลื้อย(ภาพที่ 4) ส่วนลวดลายงูบนตัวเอส พบบนภาชนะดินเผาลายเขียนสีที่บ้านเชียง(ภาพที่5) อายุราว 3,600 ปี บรรพชนเผ่าไทได้นำลายงูแบบตัวเอสมาทอลงผืนผ้าดังพบบนผืนผ้ามัดหมี่คั่นไท อีสานลายนาค (ภาพที่6) แต่ลวดลายที่พบในผืนผ้าไทแทบทุกเผ่าคือ ลายนาค (ภาพที่ 7 )ที่มีลักษณะเกี่ยวกันเป็นรูปตัวดับเบิ้ลยู ในมัดหมี่ไทอีสานพัฒนาเป็นลวดลายนาคชูสน(ภาพที่ 8) และลายนาคชูบายศรี (ภาพที่ 9) เป็นต้น ความเชื่อเรื่องการนับถือพญานาคของบรรพชนเผ่าไท ได้สะท้อนให้เห็นพิธีกรรมต่าง ๆ อาทิ ในเดือน 12 หรือฮีตสิบสองของชาวไทลาวและชาวไทอีสาน จะมีพิธีบูชาพญาอุสุภนาค 15 ตระกูลเป็นต้น
ภาพที่ 2 ลายงูเลื้อยบนภาชนะดินเผาลายเชือกทาบสมัยหินใหม่ที่ถ้ำเขาสามเหลี่ยม จังหวัดกาญจนบุรี
นิทานพระ พุทธสิหิงค์ซึ่งพระโพธิรังสีพระเถระชาวเชียงใหม่แต่งไว้เป็นภาษาบาลีราวพ.ศ. 1945-85 ในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งอาณาจักรล้านนาไทย กล่าวถึง ความสำคัญของพญานาคผู้เนรมิตตนเป็นรูปพระพุทธองค์เพื่อเป็นรูปแบบในการหล่อ พระพุทธสิหิงค์ดังนี้คือ
จากปีปรินิพพานล่วงมาได้ 700 ปีในเกาะสีหลมีพระราชาเสวยราชย์อยู่ 3 องค์และมีพระอรหันต์บำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง 20 องค์ แต่ไม่มีผู้ใดเคยเห็นพระพุทธองค์พญานาคตนหนึ่งจึงเนรมิตรูปพระพุทธองค์อันงด งามด้วยลักษณะมหาบุรษให้ปรากฏ ที่ประชุมต่างมีใจเลื่อมใสแซ่ซ้องสาธุการกราบไหว้โยนผ้าบุชาด้วยแก้วแหวน เงิน ทองครั้นครบ 7 วันรูปพระพุทธองค์ก็หายไปพญานาคกำชับให้จดจำพุทธลักษณะไว้ก่อนกลับไปสู่ เมืองนาค พระราชาทั้ง 3 พระองค์จึงโปรดให้ช่างหล่อฝีมือเยี่ยมหล่อพระพุทธรูปขึ้นจากพุทธลักษณะที่จด จำกันมา พระพุทธรูปมีลักษณะท่าทางสง่าดังราชสีห์จึงเรียกชื่อว่าพระพุทธสิหิงค์ ฉะนั้นพญานาคในสิหิงค์นิกาย จึงมีความสำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดพระพุทธสิหิงค์
ในสมัยสุโขทัยในคัมภีร์ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย พ.ศ. 1888 กล่าวถึงนาคว่ามี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งชื่อถลชะ เนรมิตได้แต่บนบกและอีกชนิดหนึ่งชื่อชลชะ เนรมิตตนได้แต่ในน้ำ(กรมศิลปากร 2526) นาคจะมีความสามารถในการเนรมิตให้เป็นเทวดานางฟ้าอย่างไรก็ได้ ดังปรากฏในตำนานพระพุทธสิหิงค์ที่สามาราถเนรมิตเป็นพระพุทธเจ้าได้ในไตรภูมิ โลกวินิจฉยกถา กล่าวถึงพญานาคแบ่งเป็น 4 ประเภท ตามวิธีให้พิษ คือ ประเภทแรก ทิฏฐวิสะ มองดู ด้วยตาก็อาจให้พิษแก่ศัตรูได้แก่พญาวิรูปักนาคราช และพญาวาสุกรีนาคราช ประเภที่สอง ผุฏฐวิสะ ถูกต้อด้วยกายก็ให้พิษแก่ศัตรู ได้แก่ พญาเอราปถนานาคราชและพญาอักบกนาคราช ประเภทที่สาม วาตวิสะ พ่นด้วยลมจมูก ก็อาจจะให้พิษแก่ศัตรูได้แก่ พญาฉัพยา ปุตตนาคราช และประเภทที่สี่ ทัฏฐวิสะ มีพิษด้วยเขี้ยวใช้ขบกัดศัตรู ได้แก่ พญากัณหาโคตมนาคราช ซึ่งมีงูเห่าดำเป็นบริวาร (กรมศิลปากร 2520 )ความสามารถของนาคในการเนรมิตแปลงกายและมีพิษมาก จึงมีอิทธิพลให้นิทานและวรรณคดีของไทยมีเรื่องพญานาคเกี่ยวข้องเสมอ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อลวดลายบนผืนผ้าไทดังเช่นลายพญานาค บนผ้ามัดหมี่สุรินทร์ (ภาพที่ 13 ) ในสมัยอยุธยา ในริ้วกระบวยแห่พยุหยาตราทางชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะมีเรือรูปสัตว์หิมพานต์ร่วมกระบวนด้วย รวมทั้งเรือนาคชื่อนาคอุดรราชและนาคนายก จะมีหัวเรือเป็นรูปพญานาคมีหลายเศียร(กรมศิลปากร,2530) แสดงให้เห็นความสำคัญของพญานาค ในงานศิลปะรวมทั้งสมัยอยุธยายังปรากฏหลักฐานลวดลายนาคและครุฑยุคนาคบนผืนผ้า ไทบนผ้าลายอย่างที่ยังคงเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ(ภาพที่14) รวมทั้งลวดลายสัตว์หิมพานต์และลายพรรณพฤกษาอย่างอื่นอีกเป็นจำนวนมาก
ภาพที่ 3 ลายงูเลื้อยบนภาชนะดินเผาเขียนสี สมัยโลหะที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNatextile2008/snake%20in%20tai%2...
<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร