ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ลวดลายงูหรือนาคในผ้าไทโบราณ (2)
ลวดลายงูหรือนาคในผ้าไทโบราณ (2)
ภาพที่ 4 มัดหมี่ไทอีสาน ลายงูเลื้อย
ภาพที่ 5 ลายงูบนภาชนะดินเผาลายเขียนสีสมัยโลหะบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ภาพที่ 6 หมี่คั่นไทยอีสานลายนาค
ภาพที่ 7 ขิดไทยอีสานลายนาค
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานกล่าวถึงลวดลาย นาคบนผ้าทรงของตัวละครในวรรณคดีสำคัญของชาติหลายเรื่อง(อรไท 2537) อาทิ ในสมัยรัชกาลที่ 1 กล่าวถึงใน อุณรุทและรามเกียรติ์ในบทละครเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวถึงตอนพระอุณรุท เสด็จไปล้อมช้างก่อนทำพิธีโขลนทวาร ได้เสร็จมาสรงวารินและทรงสนับเพลารูปนาคดังบทกลอนว่า
ภาพที่ 8 มัดหมี่ไทอีสาน ลายนาคชูสน
ภาพที่ 9 มัดหมี่ไทอีสาน ลายนาคชูบายศรี
ภาพที่ 10 รูปพญานาค 7 เศียรสมัยทวารวดี
ภาพที่ 11 มัดหมี่ไหมอีสาน ลายนาคแผ่พังพาน
ภาพที่ 12 ผ้ากั้งไทลาว ลายนาคแผ่พังพานที่ถ้ำจาม เขางู จ.ราชบุรี
“เข้า ที่ชำระสระสนานสุคนธ์ธารเกสรขจรกลิ่น สนับเพลาเชิงรูปนาคิน ภูษาพื้น นิลใยยอง”ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ได้กล่าวถึงผ้าทรงของตัวละครสำคัญอาทิตัวละครตัวพระ คือ พระรามตอนอภิเษกทรงภูษาลาย “ทองผุดเชิงช่อวาสุกรี” ตอนศึกกุมภกรรณพระรามพระลักษณ์ทรงสนับเพลา “เชิงช่อนาคินทร์สังเวียนวง”ตอนศึก อินทรชิต พระรามพระลักษณ์ทรงพระภูษา “เป็นรูปนาคราช 7 เศียร” ตอนศึกท้าวอัศกรรณ พระรามพระลักษณ์ทรงสนับเพลา “เชิงรูปวาสุกรี 7 เศียร”ตอนศึกอินทรชิต
พระลักษณ์ทรงสนับเพลา “เชิงรูปนาคินทร์” ตอนรับทัพสุริยาภพ พระสัตรุดทรงพระภูษา “เป็นรูปนาคราช 7 เศียร”เป็นต้น ส่วนตัวละครตัวยักษ์ มีท้าวทศพักตร์ตอน ประพาสป่า ทรงสนับเพลา “เชิงนาคินทร์” พระยาทูษณ์ยักษี ทรงสนับเพลา “เชิงรูปนาคา” สหัสกุมารยักษี ทรงสนับเพลา “เชิงนาคินทร์” อิทรชิต ทรงสนับเพลา “เครือขดนาคินทร์” ท้าวราพณาสูร ทรงพระภูษา “ลายรูปนาคินทร์” ท้าวคนธรรพ์ยักษาทรงสนับเพลา “เป็นรูปนาคินทร์” นอกจากตัวละครสำคัญจะทรงพระภูษาและสนับเพลาลายนาค และนาคราช 7 เศียร แล้วยังปรากฏว่าทรงพระสนับเพลาลายนาคเกี่ยวกันคือ ท้าวจักรวรรดิยักษา ทรงสนับเพลา “เชิงรูปนาคินทร์เกี่ยวกัน” ซึ่งในลวดลายผ้ามัดหมี่ไท จะทอเป็นลายนาคเกี้ยว(ภาพที่ 15 )บรรพชนเผ่าไทได้คิดประดิษฐ์ลวดลายงูหรือนาคในศิลปะไทและผ้าไทมาตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติสาสตร์ ลวดลายงูหรือนาคได้มีวิวัฒนาการเป็นลวดลายต่างๆ ที่ละเอียดประณีต อาทิ ลายงูเลื้อย ลายนาค ลายนาคชูสน ลายนาคชูบายศรี ลายนาค 7 เศียร ลายครุฑยุดนาค รวมทั้งลายนาคเกี้ยวสมควรที่คนไทจะช่วยกันอนุรักษ์ลวดลายไทลายงูหรือนาคให้ อยู่คู่ไทตลอดไป
ภาพ ที่ 13 มัดหมี่สุรินทร์ ลายนาค
ภาพที่ 14 พระภูษาทรงสมัยธนบุรี ลายครุฑยุดนาค
ภาพที่15 มัดหมี่ไทอีสาน ลายนาคเกี้ยว
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือ SILK
จัดทำเมื่อเดือนมีนาคม 2551
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNatextile2008/snake%20in%20tai%20textile/snake%20in%20tai%20textile1.html
<- ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ลายผ้า, ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร