ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- กะเหรี่ยง (79)
- จีนฮ่อ (1)
- ถิ่น (1)
- ไทดำ (1)
- ไทย (6)
- ไทยอง (1)
- ไทลื้อ (6)
- ไทหย่า (1)
- ไทใหญ่ (1)
- ปะหล่อง (ว้า) (2)
- ม้ง (แม้ว) (44)
- มูเซอ (ลาหู่) (46)
- เมี่ยน (เย้า) (50)
- มลาบรี (ผีตองเหลือง) (2)
- มอญ (Mon) (160)
- ลานแตน (1)
- ลาว (1)
- ลาวเทิง (2)
- ลีซู (47)
- ลัวะ (ละว้า) (3)
- สามต้าว (1)
- อาข่า (57)
- ชาติพันธุ์อื่นๆ (7)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
วัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า
กะเหรี่ยง
กะเหรี่ยงเป็นชาวเขาเผ่าใหญ่ที่ีสุดในประเทศไทยคือมีประชากรมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรชาวเขาทั้งหมด กะเหรี่ยงในไทยแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม แต่มีที่โดดเด่นอยู่ 2 กลุ่มคือกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว์ทั้งสองพวกตั้งหมู่บ้านกระจายอยู่ในภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ระเรื่อยลงมาตามชายแดนตะวันตก ร่วม 15 จังหวัด ลงไปจนถึงคอคอดกระแต่พวกโปว์พบมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรีและอุทัยธานี
การแต่งกาย
ชาวกะเหรี่ยงเป็น “นักทอ” เพราะทอผ้ากันเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่า เสื้อสาวโสดตั้งแต่ยังเยาว์จนได้เวลาออกเรือนจะเป็นเสื้อทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อและผ้านุ่งคนละท่อน ผ้านุ่งและเสื้อจะมีความสั้นยาว ลวดลาย และสีสันหลากหลาย มีการตกแต่งนานารูปแบบ เช่น นำลูกเดือยมาประดับ หรือใช้กรรมวิธีการทอยกดอกหรือยกลายเป็นต้นและชาวกะเหรี่ยงโปว์จะประดับประดาตกแต่งมากกว่ากะเหรี่ยงสะกอ
สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง
นอกจากนี้ ชาวกะเหรี่ยงทั้งชายหญิงจะนิยมใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับ ไม่นิยมใช้เครื่องเงินชิ้นใหญ่เช่นชาวเขาเผ่าอื่น นิยมสวมกำไลอะลูมิเนียมและทองเหลือง โดยเฉพาะสาวกะเหรี่ยงโปว์จะสวมกำไลเกือบทั้งแขน
ม้ง หรือ แม้ว
ม้งมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือของประเทศกระจายออกไปถึง 13 จังหวัด ถิ่นที่พบมากคือจังหวัดเชียงราย ตาก น่าน เชียงใหม่ และเพชรบูรณ์ม้งในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือม้งจั๊ว ถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่าแม้วน้ำเงินหรือแม้วลาย อีกกลุ่มหนึ่งคือม้งเด๊อหรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าแม้วขาว
การแต่งกาย
ม้งเป็นนักปักที่ลือชื่อภาพชาวม้งที่เราคุ้นตามักจะเป็นม้งลายที่ผู้หญิงจะนุ่งกระโปรงจีบอัดกลีบรอบตัว ยาวแค่เข่าผ้าใยกัญชงหรือฝ้ายทอมือ เขียนลวดลายบาติกอันเป็นเอกลักษณ์ของม้ง ส่วนเสื้อจะเป็นผ้าสีดำแขนยาว สวยพิสดารด้วยฝีเข็มปักและลายปะละเอียดยิบ และมีรัดน่อง นอกจากนี้ เวลาแต่งตัวครบเครื่องจริงๆ ยังมีผ้ากันเปื้อนปักประดับกันวิจิตรงดงามคาดทับกระโปรงอีกที
ส่วนผู้ชายม้งจะสวมกางเกงขายาวสีดำหลวมๆ เป็นหย่อนลงมาเกือบถึงปลายขา สวมเสื้อแขนยาวผ่าอก สีดำเสื้อตัวสั้นลอยอยู่เหนือเอวมีการปักประดับลวดลายที่สาบ ชาวม้งนิยมใช้เครื่องประดับเงิน ทั้งชายและหญิงจะมีกำไลเงินประดับรอบคอกัน
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa/Tribal/tribal.html
เมี่ยนหรือเย้า
เมี่ยนในประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่หนาแน่ที่สุดในจังหวัดเชียงรายน่านพะเยา ลำปาง กำแพงเพชร เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก และเพชรบูรณ์ ชาวเมื่ยนที่อยู่ในไทยไม่มีกลุ่มย่อยจึงมีภาษาพูดเพียงภาษาเดียวสำเนียงเดียวกันแต่งกายแบบเดียวกันถือขนบธรรมเนียมเหมือนกันแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยตามท้องถิ่นเท่านั้นและชาวเขาเผ่าเมี่ยนเป็นเผ่าที่มีภาษาเขียนดั้งเดิมโดยใช้ตัวอักษรจีน
การแต่งกาย
สาวเมี่ยนชำนาญงานปักซึ่งเป็นการปักแบบด้น ที่น่าอัศจรรย์คือพวกเธอจะปักผ้าจากด้านหลังและจะไม่เห็นลายทั้งหมดจนกว่าจะพลิกผ้ามาดู ส่วนการปักเข็มไขว้หรือปักแบบครอสสติ๊ชที่นิยมกันมากในปัจจุบันนั้น เพิ่งเข้ามาเมื่อ 50 – 60 ปีนี่เอง
เครื่องแต่งกายผู้หญิงประกอบด้วยกางเกงขาก๊วยซึ่งพราวไปด้วยลายปักที่จะแสดงฝีมือกันเต็มที่ โดยสวมกับเสื้อคลุมตัวยาว แต่จะรวบชายเสื้อด้านหน้าจากเอวไปไว้ด้านหลังเพื่อโชว์ลายปักที่กางเกง และที่สาบเสื้อด้านในรอบคอลงมาถึงเอวจะติดปุยไหมพรมสีแดงมีผ้าคาดเอวและผ้าโพกศีรษะ
ส่วนผู้ชายเมี่ยนจะสวมเสื้อตัวสั้นกับกางเกงขาก๊วย มีการปักและประดับริมผ้าหรือปักลวดลายงดงามเป็นกระเป๋า
สำหรับเครื่องประดับนั้นจะนิยมสวมเครื่องเงินเป็นกำไลคอและมีสร้อยระย้าห้อยลงด้านหลังฝีมือการทำเครื่องเงินของชาวเมี่ยนนั้นเป็นที่เลื่องลือในหมู่ชาวเผ่าว่างงดงามนัก
อาข่า หรือ อีก้อ
เดิมทีอาข่าตั้งรกรากอยู่เหนือของแม่น้ำกกในจังหวัดเชียงรายเท่านั้นแต่ปัจจุบันมีอาข่าอาศัยอยู่ในหลายจังหวัดเช่นเชียงราย เชียงใหม่ ตาก ลำปาง และแพร่
การแต่งกาย
เมื่อสาวอาข่าแต่งตัวครบเครื่องจะสวยน่าตะลึงลานตั้งแต่ศีรษะจดเท้า เครื่องแต่งกายของหญิงอาข่าประกอบด้วยหมากที่ประดับและตกแต่งเต็มที่ด้วยเหรียญและเครื่องเงิน เสื้อตัวสั้นที่ปะด้วยเศษผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย หลากสีที่ด้านหลัง ซึ่งสวมคลุมทับกระโปรงสั้นเหนือเข่า มีผ้าคาดเอวซึ่งแต่งชายงดงาม และรัดน่องที่ปะและตกแต่งลวดลายสวยงามคล้ายด้านหลังเสื้อ
ส่วนผู้ชายอาข่าจะสวมเสื้อคอกลม แขนยาว ผ่าหน้า ซึ่งมีรายละเอียดของแบบและการประดับประดาหลากหลาย ใช้ลวดลายและสีสันเช่นเดียวกับเสื้อสตรี ส่วนกางเกงขาก๊วยไม่มีการตกแต่ง ในบางโอกาสจะใช้ผ้าโพกศีรษะสีดำ พันอย่างเรียบร้อยแน่นหนาจนถอดและสวมได้คล้ายหมวก
เครื่องประดับนั้นส่วนใหญ่จะถูกเย็บติดกับเสื้อผ้า แต่ก็ยังนิยมสวมเครื่องเงินเป็นกำไลคอและข้อมือ รวมทั้งนิยมประดับหมวกด้วยเครื่องเงิน
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa/Tribal/Tribal1/tribal1.html
<- ย้อนกลับไปที่หน้า รวม link การแต่งกายของคนไทย ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร