ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
วัฒนธรรมการทอผ้าของกลุ่มชนต่างๆ - ผ้าทอลาวคั่งและลาวกา, ผ้าทอลาวภาคอีสาน, ผ้าทอลาวภาคกลาง, ผ้าทอภาคใต้
วัฒนธรรมการทอผ้าของกลุ่มชนต่างๆ (ต่อ)
:: ผ้าทอของลาวคั่งและลาวกา ::
เชื้อสายลาวคั่งและลาวกาทั้งสองพวกอยู่ในอาณาเขตใกล้เคียงกัน มีวีธีทอผ้าคล้ายกัน ลาวคั่งอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านทุ่งนาตาปิ่น อำเภอเดิมบางนางบวช และหมู่บ้านใกล้เคียง อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่บ้านโคกหม้อ อำเภอทัพทัน อุทัยธานี ส่วนพวกลาวกาอยู่ที่อำเภอบ้านไร่และตำบลใกล้เคียง
ผ้าของพวกลาวคั่งลาวกาเหมือนกันแทบทุกประการ เป็นศิลปะพื้นบ้านแท้ นิยมใช้สีสดตัวผ้านุ่งทอด้วยวิธีผสมมัดหมี่และยก (ขิด) และจก การจกใช้วิธีนับเส้นไหมและสอดด้วยมือ ด้ายเส้นใหญ่จึงดูเป็นลวดลายหยาบ การขึ้นหูกทอเอาหลังลายขึ้นข้างบน การทอไม่มีแบบแผนตายตัว ไม่มีชื่อลายแน่นอน แต่ละครั้งลายไม่ซ้ำกัน
การออกแบบลายผ้าโดยไม่มีการออกแบบล่วงหน้าจึงทำให้ดูมีชีวิตชีวา แต่มีข้อดีข้อเสียคือขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ทอ และยังทำผ้าห่มนอนที่มีลักษณะและลวดลายที่มีเอกลักษณ์ พิเศษของอำเภอบ้านไร่และสุพรรณบุรี
:: ผ้าทอลาวภาคอีสาน ::
เชื้อสายลาวภาคอีสานเป็นลาวที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม ไม่ได้อพยพมาจากไหน มีอาณาเขตกว้างไกล ทั้งอีสานใต้มีศิลปวัฒนธรรมร่วมกันแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดที่เป็นข้อปลีกย่อยแต่วัฒนธรรมประเพณีการใช้ผ้ากรรมวิธีผลิตผ้าเหมือนกัน ผ้าที่ทำมากคือผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าทอยกดอกทั้งฝ้ายและไหม ถ้าเป็นผ้าซิ่นลายจะเป็นลายที่ลงมาขนานกับลำตัว ซึ่งต่างกับลายผ้าทางล้านนาซึ่งเป็นลายขวั้นรอบตัว อีสานไม่นุ่งสั้นเหมือนลาวเวียงจันทร์ แต่ก็ไม่ยาวกรอมเท้า การทอผ้ามัดหมี่ได้รับอิทธิพลจากเขมรที่พนมเปญและพระตะบอง
ผ้าขิด
ผ้ามัดหมี่
:: ผ้าทอลาวภาคกลาง ::
ผ้าไทยภาคกลางจะเป็นผ้าที่ทอทางแถบจังหวัดสระบุรี ราชบุรี ชลบุรีที่อ่างศิลา ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าฝ้าย เป็นการทอผ้าพื้นสลับสี มุ่งที่จะเป็นผ้าที่มีคุณภาพดี คงทนในการใช้สอยมากกว่าจะเน้นเรื่องความงดงาม
ผ้าอ่างศิลา จ.ชลบุรี
:: ผ้าทอภาคใต้ ::
ผ้าไทยภาคใต้เท่าที่พบมีที่อำเภอพุมเรียง จังหวัดไชยา เป็นที่ ๆ เคยมีฝีมือในการทอผ้ายกไหมและผ้ายกด้วยดิ้นเงินและทองที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเคยมีผ้ามัดหมี่ไหมและผ้ายก และมีผ้าฝ้ายที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา ลายที่เคยพบเป็นผ้าฝ้ายลายราชมุข ราชวัต เช่นเดียวกับผ้าที่เพชรบูรณ์
ผ้าพุมเรียงภาคใต้
ผ้ายกนครศรีธรรมราช
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/Textile/Textile1/textile1.html