ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ผ้ายกเมืองไทย - จ.สุราษฎร์ธานี, จ.ตรัง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผ้าไหมยกดอก ลายก้านแย่ง
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
ในพื้นที่ที่สำรวจพบการทอผ้ายกดอก (ไหม / ดิ้นเงิน / ดิ้นทอง) ลวดลายโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ลายหน้านาง ลายถมเกสร ลายเชิง ลายตับเต่าทอง ลายรูปสัตว์ต่าง ๆ ลายราชวัติ หรือลายก้านแย่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้นำมาทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าขาวม้า ผ้าผืนเป็นต้น
การสืบทอดทางวัฒนธรรม
ผ้าทอของ ตำบลพุมเรียง เป็นหัตกรรมพื้นบ้านภาคใต้กลุ่มคนไทมุสลิม ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหัวเลน หมู่ที่ 2 บริเวณริมคลองพุมเรียง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา ซึ่งได้สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
ชาวไทยมุสลิมที่ ตำบลพุมเรียงในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากแขกเมืองสงขลาหัวเขาแดง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามที่อพยพมาจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย บางส่วนอาจมีเชื้อสายจากปัตตานีและไทรบุรีที่อพยพเข้ามาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งทำให้เกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม แต่ส่วนใหญ่พวกมุสลิมเหล่านี้ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทอผ้าไหมยกดิ้นเงินดิ้นทองหรือยกไหมซึ่งจะต่างไปจากผ้าที่ทอโดยคนไทยสมัยนั้นและสิ่งเหล่านี้ได้สืบทอดกันต่อมา ลักษณะการถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าเป็นวิธีการเรียนรู้โดยธรรมชาติด้วยวิธีสังเกตและทดลองปฏิบัติ (ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายอักษร) เครื่องมือใช้ในการทอผ้าที่ตำบลพุมเรียง
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือ หูก จึงได้เรียกการทอผ้าว่าทอหูก ถือเป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่จะต้องเตรียมไว้ให้ครอบครัว ในสมัยนั้นผ้าทอ ยกดอกจะใช้นุ่งห่มเฉพาะแต่เจ้านาย ขุนนาง หรือข้าราชการผู้ใหญ่เท่านั้น คนธรรมดาจะไม่สวมใส่แต่ในปัจจุบันคนธรรมดาก็มักนำมาใช้สวมใส่ในงานพิธีกรรมที่สำคัญทางศาสนา
“ครูผ้า” ลวดลายปักด้วยมือ เพื่อเป็นต้นแบบ โดยนางระเบียบ หวันมุกดา
ในช่วงทศวรรษหลังจากปี พ.ศ. 2480 มีการนำกี่กระตุกซึ่งเป็นเครื่องทอผ้าชนิดใหม่เข้ามาเผยแพร่ที่ ตำบลพุมเรียง อีกทั้งรัฐบาลในสมัยนั้นได้มีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยใช้ของที่ผลิตขึ้นในประเทศ โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายเน้นให้ใช้ผ้าที่ผลิตขึ้นเอง จึงได้มีการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าขึ้นโดยรัฐบาลได้ส่งหน่ายฝึกฝนอาชีพเจ้าไปในชนบทต่าง ๆ ทั่วประเทศ จึงส่งผลให้ตำบลพุมเรียงมีการใช้กี่กระตุกทอผ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน
การทอผ้าในตำบลพุมเรียงเริ่มซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2488) เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการทอผ้า เช่น ด้ายไหม มีราคาแพงและหาซื้อยากประกอบกับระยะต่อมามีผ้าทอด้วยเครื่องจักรส่งเข้ามาขายจำนวนมาก และมีราคาถูกสามารถซื้อหาได้ง่ายสะดวกว่าการทอผ้าใช้เอง ส่งผลให้ผู้ทอส่วนมากเลิกอาชีพการทอผ้า และหันไปประกอบอาชีพอื่นที่มีรายได้สูงกว่าแทน แต่ชาวไทยมุสลิมในตำบลพุมเรียงก็ยังคงยึดถืออาชีพการทอผ้าสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ผ้ายกดอกลายโบราณลายตับเต่าทอง
กระบวนการ ปัญหา และอุปสรรค ทางด้านการผลิตและการจำหน่าย
ผ้าทอพุมเรียง เป็นผ้ายกที่มีลวดลายสวยงามและมีเอกลักษณ์ต่างไปจากผ้ายกของภาคอื่นๆ กล่าวคือ มีการทอยกดอกด้วยไหม หรือ ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ในสมัยโบราณจะมีการใช้วัตถุดิบทั้งฝ้ายและไหม โดยแบ่งออกเป็นผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทอโดยใช้ฝ้ายและผ้าที่ใช้ในงานหรือพิธีการต่างๆ จะทอโดยใช้ไหม การย้อมสีใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ
แต่ปัจจุบันผ้าทอของตำบลพุมเรียง ส่วนใหญ่คงเหลือแต่การใช้วัตถุดิบจากไหมทั้งไหมไทยไหมจีนและไหมญี่ปุ่น หรือดิ้นเงิน ดิ้นทอง ที่จัดหาโดยการซื้อและย้อมสำเร็จจากร้านค้าในกรุงเทพมหานคร หรือจากอำเภอละแม ในจังหวัดชุมพร ย้อมสีวิทยาศาสตร์ และทอโดยใช้กี่กระตุกเกือบทั้งหมด การทอผ้าของชาวไทยมุสลิมในตำบลพุมเรียงส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างทอให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่โดยได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าจ้าง ผู้ทอผ้าอีกส่วนหนึ่งจะทอและจำหน่ายเอง
จังหวัดตรัง
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
ในพื้นที่ดังกล่าว พบการทอผ้ายกดอก ลายราชวัติื ที่นำมาใช้ ทำเป็นผ้าขาวม้าหรือผ้าคาดเอว ซึ่งมีความประณีตงดงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่โดดเด่น กล่าวคือ ส่วนกลางผืนจะทอสลับสีเป็นลายราชวัติืที่ละเอียดประณีต และมีลายยกสลับเป็นเส้นคั่น ก่อนจะถึงชายหรือเชิงผ้าซึ่งทอเป็นริ้วธรรมดา ๆ
ผ้าขาวม้าดอกลายราชวัติเอกลักษณ์ผ้าพื้นบ้านจังหวัดตรัง
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/PHAYOK/PHAYOK1/PHAYOK2/PHAYOK3/phayok4.html