ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ผ้าแพรวา - ลักษณะผ้าแพรวา
ลักษณะผ้าแพรวา
นาคหัวชุมผสมใบบุ่นอุ้มดาว ผ้าแพรวาสองสี ลวดลายที่ใช้ทอผ้าแพรวาผืนนี้เป็นลายอุ้มจันกิ่ง
- แพร หมายถึง ผ้า
- วา หมายถึง ความยาว
- แพรวา หมายถึง ผ้าที่มีความยาว
- ลายผ้า มีลวดลายสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน ลายไม่เขย่ง
- สีผ้า สีสม่ำเสมอตลอดทั้งผืนไม่มีรอยด่าง
- เส้นไหม เป็นไหมแท้ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน
- พื้นผ้า มีความละเอียด เนื้อแน่ สม่ำเสมอตลอดทั้งผืน
ลวดลาย
ลวดลายบนผ้าแพรวาได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา จึงทำให้เอกลักษณ์ในลวดลายยังคงงดงามอยู่ ไม่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การคิดลวดลายต่างๆขึ้นมานั้น ผู้คิดจะลองทำในผ้าฝ้ายสีขาวก่อน
จัดทำไว้เป็นแม่ลายเป็นผ้าต้นแบบรวบรวมทุกลายไว้ในผ้าผืนน้อย เรียกว่า “ผ้าแส่ว” ซึ่งแม่ลายมากมายใช้เวลาเป็นแรมเดือนกว่าจะรวบรวมเสร็จ หากช่างทอผู้ใดจะฝึกหัดทอผ้า ก็จะให้ดูลวดลายจากต้นแบบในผ้าแส่ว จะจัดเอาลายใดไว้ตรงส่วนไหนนั้น แล้วแต่ความชอบที่ช่างทอเห็นว่าสวย จะใช้สีอะไรก็แล้วแต่จะเห็นว่างาม แต่ความสวยงามของผ้าแพรวา มีเอกลักษณ์คือ ความไม่เหมือนกันของผ้าแต่ละผืน ซึ่งแล้วแต่ลายที่นำมารวมกันเอาไว้ แต่ละลวดลายจะต้องจกตามต้นแบบที่มีอยู่ในผ้าแส่ว ลวดลายต่างๆ คล้ายกับว่าใช้เส้นไหมสานขัดทีละเส้นจนแล้วเสร็จ
ผ้าผืนหนึ่งใช้เวลาเป็นแรมปี ฉะนั้นบ้านหนึ่งๆ มักจะมีแพรวาอยู่ผืนสองผืนเท่านั้น เพราะว่าทอลำบากและใช้เวลานานมากกว่าจะทอเสร็จในแต่ละผืนประเพณีทางวัฒนธรรมของสาวชาวภูไทจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามบรรพบุรุษ จะต้องตัดเย็บผ้าทอ 3 อย่าง คือ เสื้อดำ ตำแพร ซิ่นไหม
ลวดลายบนผ้าแพรวา
ลายแพรวาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ลายหลัก
- นาคหัวซุมอุ้มหยุบตีนหมาผสมแบด ดาว ผักแว่น
- พันมหา พันมหาน้อย พันมหาใหญ่
- แบดอุ้มดาวผสมนาคหัวชุม
- จันกิ่งอุ้มแบดกาบตัด
- นาคหัวชุมอุ้มดาวผสมดอกตาบ้ง
- กระบวนแอวกิ่ว ผสมใบบุ่นหว่าน
- ใบบุ่นก้านก่องอุ้มดอกซ่าน(ชื่อในแต่ละบรรทัดเป็นชื่อของลายหลักในหนึ่งแถวของผ้าแพรวาออกเสียงตามสำเนียงของชาวภูไท)
เขาลายสำหรับทอสไบแพรวา
ผ้าแส่วของแต่ละบ้านจะมีเพียงผืนเดียวสืบทอดจากแม่ให้ลูกหรือสะสมลวดลายเอาเอง
ลายประกอบ ลายแถบ ลายคั่น ลายชายผ้า
ลายงูลอย 3 ไม้
ลายงูลอย 9 ไม้ ลายนี้ขาดหายไปไม่ได้อยู่ในผ้าแพรวา
ลายตาบ้ง
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/SAR/Phraewa/Phraewa1/phraewa1.html