ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- กะเหรี่ยง (79)
- จีนฮ่อ (1)
- ถิ่น (1)
- ไทดำ (1)
- ไทย (6)
- ไทยอง (1)
- ไทลื้อ (6)
- ไทหย่า (1)
- ไทใหญ่ (1)
- ปะหล่อง (ว้า) (2)
- ม้ง (แม้ว) (44)
- มูเซอ (ลาหู่) (46)
- เมี่ยน (เย้า) (50)
- มลาบรี (ผีตองเหลือง) (2)
- มอญ (Mon) (160)
- ลานแตน (1)
- ลาว (1)
- ลาวเทิง (2)
- ลีซู (47)
- ลัวะ (ละว้า) (3)
- สามต้าว (1)
- อาข่า (57)
- ชาติพันธุ์อื่นๆ (7)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชุมชนมอญในประเทศไทย - มอญกระทุ่มมืด จ.นครปฐม
มอญกระทุ่มมืด (มอญนครปฐม)
พิศาล บุญผูก
กระทุ่มมืด
คำบอกเล่า จากท่านพระครูปัญญานนทคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดสโมสร เกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชน กระทุ่มมืด และวัดสโมสรแห่งนี้ว่า พื้นที่บริเวณวัดสโมสร ซึ่งเดิมชื่อว่า วัดหม่อมแช่ม แห่งนี้ แต่เดิม เป็นทุ่งราบกว้างว่างเปล่า ครั้นต่อมา ได้ครอบครัวมอญจากปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ และครอบครัวมอญ จากจังหวัดสมุทรสาคร ได้พากันมาจับจองที่บริเวณแห่งนี้ และได้ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ต่อมาในราว พ.ศ. ๒๔๕๕ หม่อมแช่ม กฤดากร ได้ริเริ่มให้ดำเนินการขุดคลอง ในพื้นที่ติดต่อระหว่างตำบลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี กับ ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อให้ชาวบ้านบริเวณนี้ ได้ใช้ประโยชน์ในการทำนา และติดต่อกับคนต่างถิ่นได้สะดวกขึ้น และคลองแห่งนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า คลองหม่อมแช่ม
เมื่อขุดคลองเสร็จแล้ว หม่อมแช่ม กฤดากร ได้จัดถวายที่ดิน ๑ แปลง จำนวน ๑๕ ไร่ เพื่อสร้างวัดน้อมถวาย แก่พระพุทธศาสนา และเพื่อให้ชาวบ้านในบริเวณนี้ ได้มีสถานที่บำเพ็ญบุญสร้างกุศลของตน ทั้งนี้ ก็เนื่องจากชาวมอญเป็นผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น จะเห็นได้ว่า ทุกชุมชนมอญ จะต้องมีวัดเป็นศูนย์รวมที่คนมอญแต่ละชุมชนนั้น พร้อมใจการสร้างขึ้น หม่อมแช่ม ท่านนี้ ก็มีเชื้อสายมอญเช่นกัน ท่านก็คงมีทัศนคติแบบมอญ ที่สั่งสมเกี่ยวกับการสร้างบุญบารมี มาแต่ครั้งบรรพบุรุษ จึงได้ดำริให้วัดแห่งนี้ขึ้น ซึ่งชาวบ้านได้เรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดหม่อมแช่ม เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ได้ไปนิมนต์พระภิกษุเตะ พร้อมกับพระภิกษุและสามเณรจำนวนหนึ่ง มาจำพรรษายังวัดแห่งนี้ ครั้นออกพรรษาในปีเดียวกัน ก็ได้มีพระภิกษุเนตร อุตตโม เดินทางมาจากกรุงหงสาวดี มาจำพรรษายังวัดแห่งนี้ และได้ดำเนินการสานต่อจนสำเร็จ เป็นจุดกำเนิดวัดสโมสรทุกวันนี้
วัดสโมสร ตั้งอยู่ริมคลองหม่อมแช่ม ในท้องที่หมู่ที่ ๙ ตำบลไทรน้อย กิ่งอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
ประวัติหม่อมแช่ม
ผู้มีคุณูปการต่อเกษตรรกรสองลุ่มน้ำ
หม่อมแช่ม กฤดากร เป็นบุตรีนายแก้ว และนางทองอยู่ เกิดที่จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ เนื่องด้วยคุณหญิงสร้อย ผู้พี่สาวเป็นน้องสะใภ้ของเจ้าจอมมารดากลิ่น พระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ หม่อมแช่ม จึงติดพี่สาวไปอยู่กับเจ้าจอมมารดากลิ่น และได้เป็นผู้เก็บของของเจ้าจอมมารดากลิ่น หม่อมแช่ม ได้เป็นหม่อมห้าม ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี มีพระโอรสธิดา ๖ องค์ คือ
1. หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิไลย ประสูติวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2431 เสกสมรส กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 มีพระโอรสธิดา 2 องค์ คือ
(1) หม่อมเจ้าชาย สิ้นชีพแต่เยาว์
(2) หม่อมเจ้าหญิงพรรณเพ็ญแข (นางบรรลือศักดิ์ กฤดากร)
2. หม่อมเจ้าชาย (ปุ่ย) สิ้นชีพแต่ชนมายุได้ 3 ปี
3. หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม สถาปนิกชั้นพิเศษ กรมศิลปากร
4. หม่อมเจ้าหญิงเพิ่มผล สิ้นชีพแต่ยังเยาว์
5. หม่อมเจ้าหญิงลีลาสหงส์ ประสูติวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2442 เสกสมรสกับหม่อมเจ้า ปรีดีเทพพงศ์ เทวกุล สิ้นชีพตักษัย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467
6. พลตรี หม่อมเจ้าชิดชนก กรมจเรทหารม้า
ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล กล่าวถึงหม่อมแช่มว่า
“หม่อมแช่มเป็นผู้ไม่มีบาป เพราะเลื่อมใส ในพระรัตนตรัยเป็นยอดเยี่ยม อย่างไม่มีทางจะไปสู่ทุกขภูมิได้ หม่อมแช่มได้รักษาศีล และบำเพ็ญภาวนากิจอยู่นิจนิรันดร และชอบอยู่แต่ที่สงบสงัด จนไม่ค่อยจะมีใครได้รู้จักและคุ้นเคยกี่มากน้อย ข้าพเจ้าได้เรียนหนังสือ พร้อมกับหญิงลีลาศหงส์ ครูเดียวกัน ทั้งรูปร่างของเธอ ก็เล็กขนาดเดียวกันกับข้าพเจ้า เป็นเหตุให้หม่อมแช่ม มีความกรุณาแก่ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ แม้เมื่อราว 2-3 อาทิตย์ก่อนที่หม่อมจะถึงแก่กรรม ข้าพเจ้าไปเยี่ยม หม่อมยังเรียกเข้าไปหาใกล้ ๆ แล้วลูบคลำว่า “คิดถึงแม่หญิงเล็ก” คือหญิงลีลาศหงส์ ข้าพเจ้าจึงยินดีที่ได้มีส่วนช่วย ในเรื่องหนังสือแจกในงานศพของหม่อม ซึ่งพระโอรสและหลานได้พร้อมทำสนองพระคุณตามหน้าที่
หม่อมแช่ม กฤดากร คงจะยินดีที่ได้เห็นพระโอรส และสะใภ้ทั้งหลาน ๆ ได้ช่วยงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จ ตามคตินิยมทุกประการ และคงจะอวยพรให้เลือดเนื้อของหม่อม มีแต่ความสุขสำราญ สมกับที่ลูกหลานได้อุทิศกุศลในครั้งนี้ ไปยังหม่อมเช่นเดียวกัน”
บ้านคลองหม่อมแช่ม ถือกำเนิดมานับได้กว่าศตวรรษ ชาวมอญ จากพระประแดง และสมุทรสาครได้ไปหักล้างถางพง ทำนา และตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เรียกว่า กระทุ่มมืด เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มมีอาณาบริเวณกว้าง มีต้นกระทุ่มขึ้นเต็มไปหมด เป็นดงกระทุ่มที่กินพื้นที่ ของอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมและอำเภอบางบัวทอง (ต่อมาได้แยกไปเป็นอำเภอไทรน้อย) จังหวัดนนทบุรี
ชุมชนกระทุ่มมืดได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยเป็นพื้นที่เหมาะแก่การทำนา จึงมีคนเข้ามาทำนาในบริเวณนี้มากขึ้น วัดซึ่งเป็นศาสนสถานสำหรับชาวบ้านได้สร้างขึ้น ในเวลาต่อมา ที่กระทุ่มมืดนี้ มีวัดที่ชาวไทยเชื้อสายมอญได้สร้างไว้มีถึง ๗ วัด คือ
1 วัดหม่อมแช่ม (วัดสโมสร)
2. วัดยอดพระพิมล
3. วัดไทรน้อย
4. วัดราษฏร์นิยม
5. วัดบึงลาดสวาย
6. วัดเกษตราราม
7. วัดบอนใหญ่
หม่อมแช่ม กฤดากร กุลสตรี มอญ จากบ้านเกาะ เมืองสมุทรสาคร เป็นหม่อม ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ต้นราชสกุลกฤดากร ตระหนักถึงความสำคัญของวัด ที่จำเป็นต้องจัดสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และเป็นปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ ประกอบกับชาวบ้านทั้งหลาย ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานใหม่นั้นเป็นผู้มีสายเลือดมอญด้วยกัน หม่อมแช่ม จึงได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดและเป็นผู้นำ ในการสร้างศาสนสถาน ในวัดที่ชาวบ้านเรียกขานกันทั่วไปว่า “วัดหม่อม” หรือ “วัดหม่อมแช่ม”
ศาลาการเปรียญหลังเดิมของวัดหม่อม เป็นศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ และมีความสวยงามมาก โดยเฉพาะที่เสาประดับลายทองรดน้ำ หน้าบันศาลาแกะสลักไว้สวยงามเช่นกัน ซึ่งนับว่า เป็นศาลาการเปรียญที่สวยที่สุด ในท้องที่บางบัวทอง บางเลน นครปฐม
บนศาลาการเปรียญ มีธรรมาสน์ทรงบุษบกที่งามที่สุดหลังหนึ่ง ขณะนี้ทางวัดได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
ศาลาท่าน้ำทรงตรีมุข ตรงทางขึ้นสู่ศาลาการเปรียญ เป็นศาลาที่งามหลังหนึ่งเช่นกัน (ได้รื้อแล้ว เพราะชุดรุดมาก)
เพื่อ ให้ชาวบ้านบริเวณวัดหม่อมและชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ทำการเกษตร และตั้งบ้านเรือนในระหว่างคลองขุนศรี นนทบุรี และบางภาษี นครปฐม ได้รับความสะดวก ในการนำน้ำจากคลองใหญ่มาใช้ทำการเกษตร และสะดวกในการสัญจรไปมา นำผลผลิตไปขาย หม่อมแช่มผู้มีแนวความคิด ในการพัฒนาชุมชนที่ดี จึงได้บริจาคทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย ในการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองที่สำคัญ ของนนทบุรีและนครปฐม เริ่มขุดจากคลองขุนศรี อ. ไทรน้อย นนทบุรี ผ่านทางหน้าวัดหม่อมแช่ม ตรงไปที่หน้าวัดบึงลาดสวาย อ. บางเลน นครปฐม ชาวบ้านได้รับประโยชน์อย่างมากมายจากคลองนี้ ทั้งในการคมนาคมทางน้ำ และการชลประทาน ชาวบ้านจึงเรียกขานคลองนี้ว่า คลองหม่อมแช่ม จนตราบเท่าทุกวันนี้
ชุมชนที่อยู่บริเวณคลองหม่อมแช่มนี้มีชื่อว่า บ้านคลองหม่อมแช่ม บ้านคลองหม่อมแช่มขณะนี้มี 2 แห่ง คือ
1. แห่งหนึ่ง บ้านคลองหม่อมแช่มที่อยู่ในเขต ต. ขุนศรี อ. ไทรน้อย จ. นครปฐม
2. แห่งที่สอง บ้านคลองหม่อมแช่มที่อยู่ในเขตบางภาษี อ. บางเลน จ. นครปฐม
ทั้งนี้เนื่องจากคลองหม่อมแช่ม เป็นคลองที่ขุดเชื่อมคลองใหญ่ ที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี ลุ่มเจ้าพระยา และเขตจังหวัดนครปฐม ลุ่มน้ำท่าจีน
หม่อมแช่ม กฤดากร ได้สร้างประโยชน์อย่างมาก แก่ชุมชนกระทุ่มมืด เป็นผู้ประกอบคุณงามความดีที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์จากคุณงามความดี ที่หม่อมแช่มได้กระทำไว้ยังคงเรียกขานวัดหม่อมแช่ม และคลองหม่อมแช่ม ตลอดจนบ้านคลองหม่อมแช่ม ด้วยความสำนึก ในพระคุณของท่าน ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้