ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- กะเหรี่ยง (79)
- จีนฮ่อ (1)
- ถิ่น (1)
- ไทดำ (1)
- ไทย (6)
- ไทยอง (1)
- ไทลื้อ (6)
- ไทหย่า (1)
- ไทใหญ่ (1)
- ปะหล่อง (ว้า) (2)
- ม้ง (แม้ว) (44)
- มูเซอ (ลาหู่) (46)
- เมี่ยน (เย้า) (50)
- มลาบรี (ผีตองเหลือง) (2)
- มอญ (Mon) (160)
- ลานแตน (1)
- ลาว (1)
- ลาวเทิง (2)
- ลีซู (47)
- ลัวะ (ละว้า) (3)
- สามต้าว (1)
- อาข่า (57)
- ชาติพันธุ์อื่นๆ (7)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
ชนเผ่าม้ง - การทำทองขาว
ชนเผ่าม้ง : การทำทองขาว
ในอดีตม้งนิยมทำเครื่องประดับจากเงิน และทองขาว เนื่องจากสมัยก่อนนั้นม้งไม่่รู้จักทอง มีเรื่องเล่าว่า สมัยก่อนมีม้งผู้ชายคนหนึ่งซึ่งพระเจ้าได้ให้ตื่นแต่เช้าตรู่ เพื่อที่จะไปตีสิ่งของที่บินผ่านมา และพระเจ้าได้บอกว่าเห็นอะไร บินผ่านมาก็ตีให้หมด พอชายคนนี้ตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อที่จะไปตีสิ่งของที่บินผ่านมา แต่พอไปถึงชายหนุ่มม้งเห็นสิ่งของอะไรก็ไม่รู้ บินมาลอยอยู่ตรงหน้า เห็นเป็นสีเหลืองๆ แต่ก็่ไม่ตีปล่อยให้ลอยผ่านไป สักพักหนึ่งก็มีสีขาวบินผ่านมาชายคนนี้ก็ไม่ตีอีก แต่พอเห็นสีดำลอยผ่านมาจึงได้ตัดสินใจตี เมื่อตีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชายหนุ่มม้งก็กลับมารายงานให้กับพระเจ้า พระเจ้าจึงได้พูดว่า เจ้านี่ทองลอยมาก็ไม่ตี เงินลอยมาก็ไม่ตี พอเหล็กลอยมาก็ตี ข้าให้เจ้าไปตีทองและเงินนะ ไม้ได้ให้ไปตีเหล็ก แต่เมื่อเจ้าตีได้แค่เหล็ก เจ้าจงนำเหล็กนี้ไปทำเป็นอาวุธ เพื่อที่จะได้ใช้ไปทำมาหากินนะ หลังจากนั้นมาม้งจึงไม่รู้จักทองกับเงิน แต่ที่ม้งรู้จักใช้ทองและเงิน เนื่องจากชายม้งผู้อาภัพได้ไปค้าขายกับจีน จึงทำให้ม้งเริ่มรู้จักใช้เงินตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ม้งจึงเริ่มรู้จักนำเงินและทองขาวมาทำเป็นเครื่องประดับ ดังนั้นภายหลังหรือยุคหลังๆ ม้งจึงนิยมนำทองขาวมาทำเครื่องประดับ สามารถที่จะทำเป็น ต่างหู กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า เข็มขัด เข็มกลัด ห่วงคอ เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
นำแผ่นทองขาวมาวัดขนาดของห่วงต่าง ๆ ซึ่งการทำห่วงคอของม้งนั้นจะมีอยู่ 5 ห่วง คือห่วงอันที่หนึ่งจะมีขนาดใหญ่ที่สุด และจะลดขนาดลงไปเรื่อยๆจนถึงขนาดที่เล็กที่สุด ห่วงเล็กจะอยู่บนสุดของห่วงทั้งหมด หลังจากที่วัดขนาดของห่วง ทั้ง 5 ห่วงเรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 2
นำมาตอกลวดลายเป็นรูปดอกไม้ต่างๆแต่ก่อนที่จะตอกลวดลาย สมัยก่อนจะไม่นำแผ่นเงินมาทาบบนชันไม้ แต่ปัจจุบันจะนำแผ่นทองขาวมาทาบบนชันไม้เพื่อไม่ให้เคลื่อนที่และสะดวกในการตอกลาย ช่วยป้องกันมิให้แผ่นเงินเกิดการชำรุด
ขั้นตอนที่ 3
นำห่วงคอที่ตอกลายเรียบร้อยแล้ว จากนั้นนำห่วงคอที่ละอันมาดัดให้ง้อเข้าหากัน เพื่อที่จะเชื่อมเข้ากันได้ จากนั้นก็ทำการเชื่อมห่วงทีละอันให้เสร็จเรียบร้อย จากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยจะจัดเรียงห่วงคอที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดเป็นฐาน แล้วตามด้วยห่วงคอที่มีขนาดเล็กลดลั่นตามกันมาจนครบ 5 ห่วง เมื่อมีกันจัดเรียงห่วงคอเรียบร้อยแล้วก็จะมีการเชื่อมห่วงคออีกครั้ง โดยที่เชื่อมห่วงคอทั้ง 5 ห่่วงให้ติดกันเป็นแผ่น แล้วจัดทำกระดุมให้แผ่นห่วงคอคล้องกันได้
ขั้นตอนที่ 4
จากนั้นก็นำห่วงคอไปล้างด้วยน้ำกรด ขัดให้เรียบร้อย แล้วชุบด้วยเงิน เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำไปล้างด้วยน้ำกรดอ่อนอีกครั้งเพื่อให้ขาวและเงามากมากขึ้น ซึ่งเครื่องประดับชิ้นนี้ใช้เฉพาะในการ ส่วมใส่ในเทศกาลฉลองปีใหม่เท่านั้นหรือวันสำคัญต่างๆเท่านั้น ซึ่งเครื่องประดับชนิดนี้ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่เสริมรายได้ให้กับม้ง