ชนเผ่าลาหู่ - ประเพณีแซก่อ (ก่อทราย)
ชนเผ่าลาหู่ : ประเพณีแซก่อ(ก่อทราย)
ประเพณีแซก่อนี้มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษปฎิบัติมา และสืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ชนเผ่าละหู่ที่นับถือพุทธ (ผี) ซึ่งแซก่อ ตรงกับวันที่ 14 เมษายนของทุกปี และเป็นวันสงกรานต์ไทย ชนเผ่าลาหู่จะมีประเพณีแซก่อ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้กับสิ่งที่ล่วงลับที่ทำไปแล้วในการประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวนโดยที่ฆ่าสัตวโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ เชื่อว่าทำพิธีกรรมแซก่อแล้ว จะทำให้ไม่มีบาป แล้วอาชีพการทำไร่ ทำสวน ผลผลิตจะได้ดี และชีวิตการเป็นอยู่เย็นเป็นสุข
![]() |
การเตรียมสิ่งของที่จะไปประกอบพิธีกรรมแซก่อ แต่ละบ้านจะต้องจัดหาดอกไม้สวย ๆ นำมาใส่กระบอกไม้ไผ่เพื่อที่จะนำมาทำพิธีกรรม เช่น เตรียมเมล็ดพืชข้าว ข้าวโพด พริก เตรียมทราย เตรียมเทียนไขนี้ไปเก็บไว้ ณ จุดที่เคารพ |
![]() |
ชาวบ้านก็จะมาพร้อมกัน ณ จุดศูนย์รวมของหมู่บ้านเพื่อที่จะช่วยการทำพิธีกรรมแซก่อ หรือทรายก่อ |
![]() |
เตรียมขุดหลุมเล็ก ๆ ไว้เพื่อที่จะใส่เสาดอกไม้ลง |
![]() |
นำดอกไม้มาประดับจุดที่ทำพิธีกรรมแซก่อ |
![]() |
นำดอกไม้มาเพื่อที่จะประกอบพิธีกรรมให้สมบูรณ์แบบ |
![]()
|
นำสิ่งของเพาะปลูกมาไว้จุดที่ทำพิธีกรรม เช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด พริก |
![]()
|
ชาวบ้านจุดเทียนเพื่อ จะประกอบพิธีขอขมาสัตว์ที่ตายไปในการทำไร่ ทำสว |
![]()
ชาวบ้านทำเครื่องมืออุปกรณ์ ในการประกอบพิธีกรรม สร้างเสร็จแล้วเริ่มทำพิธีกรรมขอขมา สิ่งต่าง ๆ ในการทำไร่ เช่น สัตว์ |
ทำพิธีกรรมจะต้องมีพ่อหมอ หรือผู้เฒ่า ผู้แก่ในหมู่บ้านที่สามารถอ่านบทสวด เพื่ออุทิศส่วนกุศล ขอขมาต่อสัตว์ต่าง ๆ ที่โดนฆ่าตายในการทำไร่ ทำสวนแล้ว สวดว่าขอให้ได้ผลผลิตสูง เจริญงอกงาม ออกเมล็ดเหมือนเมล็ดทราย และสวดว่าขอให้ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนอยู่เย็น เป็นสุข หลังจากเสร็จพิธีกรรม ชาวบ้านเก็บเมล็ดพืชที่ทำพิธีกรรม จะนำมาไว้จุดที่ศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน
|