ค้นหา
เมนู
- หน้าหลัก
- หมวดหมู่
- ภัยพิบัติ (65)
- ธรรมชาติ (286)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (172)
- สังคม (2814)
- วัฒนธรรม (3270)
- ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (19)
- ชาติพันธุ์ (531)
- ประเพณี (780)
- ภูมิปัญญาไทย (1652)
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (11)
- การแต่งกาย (25)
- การรักษาโรค (67)
- การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ (381)
- การศึกษา (2)
- งานช่างฝีมือพื้นบ้าน (385)
- ผ้าทอ (300)
- งานหล่อ (0)
- งานแกะสลัก (11)
- งานปั้น เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก (12)
- ภาพเขียน (1)
- เครื่องถม (0)
- เครื่องจักรสาน (36)
- เครื่องทอง (1)
- เครื่องเงิน (2)
- เครื่องกระดาษ (2)
- เครื่องเขิน (2)
- เครื่องไม้ (7)
- เครื่องรัก (0)
- เครื่องโลหะ (6)
- เครื่องหนัง (0)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (0)
- งานช่างฝีมืออื่นๆ (4)
- ที่อยู่อาศัย (99)
- ภาษาและวรรณกรรม (290)
- ศิลปะการป้องกันตัว (8)
- อาชีพและวิธีการหากิน (27)
- อุปกรณ์หากินและของใช้ (154)
- อาหาร (203)
- เครือข่ายทางวัฒนธรรม (204)
- วัฒนธรรมหลวง (17)
- เนื้อหาวัฒนธรรมรอจัดหมวด (0)
- ศิลปะและการบันเทิง (699)
- ศาสนาและจิตวิญญาณ (7090)
- เนื้อหารอจัดหมวด (26)
- ค้นหาชั้นสูง
- บริจาคเนื้อหา
- เกี่ยวกับโครงการ
ล็อกอิน
วัฒนธรรมการทอผ้าของกลุ่มชนต่างๆ - ผ้าทอของชาวล้านนา, ผ้าทอของลาวพวน
วัฒนธรรมผ้าของกลุ่มชนต่างๆ -ผ้าทอของชาวล้านนา, ผ้าทอของลาวพวน
:: ผ้าทอของชาวล้านนา ::
เชื้อสายล้านนาไทยอยู่ทางภาคเหนือของไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ใช้ผ้าทอและผ้ายกทั้งฝ้ายและไหม ฝีมือประณีตเป็นพิเศษการยกเป็นลวดลายด้วยไหมสีสอดดิ้นเงินและทองจัดเป็นงานขั้นวิจิตรศิลป์ เป็นผ้าของเจ้านายและชนชั้นสูงนิยมลายแบบเรขาคณิต ลายดอกไม้เครือเถาและรูปสัตว์ต่างๆ
ผ้าของล้านนามีอิทธิพลต่อราชสำนักในกรุงเทพฯ เป็นอันมากปัจจุบันผ้าที่ใช้ในราชพิธีต่างๆ ก็ยังทอด้วยช่างที่สืบสายจากเจ้าล้านนาไทยถ้าเป็นผ้าพื้นเมืองของล้านนา ยกดอกลวดลายมีน้อยลายผ้ามีลักษณะเป็นแถบสีขวั้นรอบตัวเห็นได้โดยทั่วไปทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ น่าน มีข้อน่าสังเกตคือ ล้านนาไทยมีอาณาเขตติดต่อกับชาวเขาเผ่าต่างๆ แต่อิทธิพลของผ้าชาวเขาไม่ปรากฏในผ้าทอล้านนาอาจเป็นเพราะความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมของล้านนาไทยเข้มแข็งจนอิทธิพลจากภายนอกไม่อาจแทรกเข้ามาได้(แต่สมัยนี้ไม่แน่ใจ)
กลุ่มล้านนาไทยที่จังหวัดน่านกล่าวอ้างกันว่าเป็นลาวหลายๆ เผ่าแต่ที่มากคือลาวพุงดำซึ่งผู้ชายนิยมสักเป็นลวดลายดำตั้งแต่เอวถึงเข่าลายผ้าซิ่นขวั้นรอบตัวเช่นเดียวกับเชียงใหม่และลำพูน แต่มีวิธีการทอผ้าด้วยเทคนิคที่ไม่เหมือนใคร คือการทอด้วยวิธีกลับด้ายหรือย้อมเส้นด้ายเรียกว่า ลายน้ำไหล ผ้าน่านนิยมสอดดิ้นเงินและทองด้วย จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์จะเห็นประเพณีและวัฒนธรรมการแต่งกายด้วยผ้าชนิดต่างๆ ทั้งชายและหญิง
:: ผ้าทอของลาวพวน ::
เชื้อสายลาวพวนคงจะสืบเชื้อสายมาจากลาวที่อาศัยอยู่เมืองพวนใกล้เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาวอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยสามแห่ง คือที่อำเภอ ลับแล จ.อุตรดิตถ์ หมู่บ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และที่อำเภอคูบัว จ.ราชบุรีทั้งสามแห่งมีวิธีการทอผ้าเหมือนกันคือใช้วิธีจก ตัวผ้านุ่งใช้วิธีทอและยก ไม่เคยพบผ้าที่เป็นมัดหมี่ เชิงจกมีลวดลายและวิธีวางโครงสร้าง สีประสานกลมกลืน ที่อำเภอลับแลและหมู่บ้านใกล้เคียง ลายตีนจกโครงสีเป็นเอกรงค์ออกสีเขียวและสีน้ำตาล นอกจากลายเราขาคณิต ลายเครือเถา ลายดอกไม้ ลายรูปสัตว์คล้ายหงส์ ยังมีลายที่รูปร่างคล้ายเรือวิญญาณ ซึ่งคล้ายกับลายผ้าของชวาที่เกาะซุมบา สันนิษฐานว่าเป็นลวดลายโบราณของวัฒนธรรมดองชองซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของโลก
เชื้อสายลาวพวนที่หาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่อำเภอคูบัว จังหวัดราชบุรี พบผ้าฝ้ายและผ้าไหมคล้ายผ้าตีนจกของอำเภอลับแลและหาดเสี้ยว ตัวผ้านุ่งเป็นผ้ายกดอกเหมือนลายมุขหรือเป็นลายขวั้นรอบตัวแบบล้านนาเช่นเดียวกับซิ่นล้วงของหาดเสี้ยว ลายตีนจกฝีมือละเอียดประณีตเป็นพิเศษ แต่เป็นลายเรขาคณิต ล้วนใช้สีเอกรงค์สีแดง
ผ้าที่ใช้วิธีการจกยังพบอีกแห่งหนึ่งที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่จกของแม่แจ่มนั้นก็ได้ขาดตอนการทอไปนาน แต่สมัยนี้นั้นได้กลับมาฟื้นฟูและอนุรักษ์การทอทำ ให้ผ้าจกแม่แจ่มกลับมาเป็นสัญลักษณ์ของผ้าซิ่นตีนจกของเมืองเหนือ และได้ใช้แพร่หลายมากขึ้น
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/Textile/textile.html