สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา เรื่อง "จั่นทัน (ล้านนา-ตั้งโย้)"

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
01/11/2008
ที่มา: 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://art-culture.chiangmai.ac.th/

สถาปัตยกรรมเรือนกาแล เรื่อง "จั่นทัน (ล้านนา-ตั้งโย้)"

  

ทั่ง(ตั้ง)โย้ เป็นโครงสร้างไม้สองชิ้น ประกอบกันเป็นด้านข้างรูปสามเหลี่ยมของโครงหลังคา ปลายบนประกอบยันเข้ายึด ติดกับเสาดั้งและอกไก่(แป๋จ๋อง) ส่วนปลายล่างถ่ายน้ำหนักลงแป(แป๋)หัวเสา หรือแป(แป๋ป้าง)พ่าง พบได้ทุกหลัง

ทั่ง(ตั้ง)โย้ทำหน้าที่รับน้ำหนักอกไก่ (แป๋จ๋อง) เพื่อถ่ายน้ำหนักลงที่หลังแป(แป๋)หัวเสา ตั้งโย้จะไม่อยู่หน้าเรือนและหลังเรือน เพราะมีจั่วทำหน้าที่รับน้ำหนักอยู่แล้ว

ข้อมูลโดย: เศรษฐศิลป์  อินถาบุตร

ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลต้นฉบับ :  http://art-culture.chiangmai.ac.th/museum/08.php


สถาปัตยกรรมเรือนกาแลล้านนา

1. แวง   
2. ต๋ง   
3. พื้นเรือน/ไม้แป้นต้อง   
4. ขื่อ  
5. แป๋-แป๋ป้าง   
6. ดั้ง/ดั้งแขวน/ใบดั้ง   
7. ตั้งโย้   
8. แป๋จ๋อง  
9. ก้าบ   
10. ก๋อน   
11. ไม้กั้นฝ้า  
12. แป๋ลอย  
13. น้ำย้อย  
14. ยาง  
15. ยางก้ำ   
16. ตะพานหนู  
17. ไม้ตะเฆ้ 
18. ก๋อนก้อย  
19. ขั้วหย่าง  
20. ควั่น  
21. แหนบ 
22. ไขรา  
23. ปั้นลม   
24. หลังคา   
25. รางริน   
26. ฝา

ข้อมูลโดย นักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการผลิตสื่อ 2549 และคุณเศรษฐศิลป์ อินถาบุตร (ผู้ให้ข้อมูล)

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่