Puey Ungphakorn [มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“คณะเศรษฐศาสตร์ในปีการศึกษา 2513.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม หน้า 157-163. โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570.6ป4)

เป็นบทความที่ดร.ป๋วย เขียนในขณะที่อยู่ต่างประเทศ โดยได้กล่าวถึงรายงานที่จัดทำในคณะ วิธีการดำเนินงาน ความก้าวหน้า และการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงาน ท้ายบทความให้ข้อคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของอาจารย์ และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในระบอบประชาธิปไตย

“คติของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มธ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. กันยายน 2510. – - 1 หน้า. ( ถ่ายสำเ นา) (กว 10)

เป็นคติเตือนใจนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขาดความสามัคคี ความว่า

“เศรษฐศาสตร์ลูก มธ.ไม่ก่อกรรม            จะไม่ทำร้ายใครที่ไหนหนอ
แม้ปะทะประเชิญลูก มธ.                           จะไม่ขอสู้เพื่อนท่านเตือนไว้
อันคนกล้าท้าก็สู้ดูเก่งกล้า                        คนเก่งกว่าถือขันติมิหวั่นไหว
ใครเกินเลยเฉยเชือนให้เพื่อนได้              คณะไหนก็ศิษย์สมกรมนราฯ”

“คำขวัญจากดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ธรรมศาสตร์ 50 ปี, หน้า 4. บรรณาธิการโดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527. (LG 395 ก 238 ธ 36 2527)

เป็นคำขวัญที่ดร.ป๋วย เขียนด้วยมือซ้ายความว่า “คิดถึงชาวธรรมศาสตร์ในโอกาสครบรอบ 50 ปี”

“คำขวัญจาก…ท่านอธิการบดี.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน อนุสรณ์เศรษฐศาสตร์, (ภาคค่ำ) รุ่นที่ 5-2512, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จันทราทิพย์การพิมพ์, 2518. (มธ 2.17)

กล่าวแสดงความยินดีต่อกลุ่มนักศึกษาคระเศรษฐศาสตร์ภาคค่ำรุ่นปี 2512 (รุ่นที่ 5) และดร.ป๋วย ได้ให้คำขวัญว่า “ขออย่าได้ประมาทเพราะบัณฑิตที่แท้จริงย่อมไม่ประมาท ไม่ทรนง วิชาความรู้นั้นไม่มีที่สิ้นสุด เราจะต้องขวนขวายแสวงหาวิชาต่อไป และจะต้องแสวงหาประสบการณ์ต่อไป”

“งานบัณฑิตอาสาสมัครในทรรศนะของอาจารย์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ปฐมนิเทศบัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 15, 10 มิถุนายน 2526. – - 32 หน้า. (อัดสำเนา) (มธ 5.15)

กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรชั้นสูง บัณฑิตอาสาสมัคร 4 ประการดังนี้ 1. การฝึกอบรมให้บัณฑิตรู้จักเสียสละ 2. ให้บัณฑิตรู้จักในการที่จะไปอยู่คนเดียวและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แปลกกว่าที่ตนเคยอยู่ โดยเฉพาะอย่าสงยิ่งในชนบท 3. ฝึกบัณฑิตให้มีความริเริ่มว่าจะทำอะไรเป็นสาธารณประโยชน์ได้ 4. ให้บัณฑิตไปทำการช่วยเหลือให้ชนบทดีขึ้น ท้ายบทความเป็นคำกลอน สุนทรพจน์ของดร.ป๋วย ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปี ของสมาคมธนาคารไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2509

“ตึกใหม่เศรษฐศาสตร์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 164. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570 6ป4)

เป็นบทความที่กล่าวเนื่องในโอกาสเปิดตึกใหม่ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้กล่าวอัญเชิญพุทธภาษิตเป็นคำขวัญ และกล่าวคำอวยพรเนื่องในโอกาสเปิดตึกด้วย

“ธรรมศาสตร์กับการเมือง.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน ธรรมศาสตร์ 50 ปี, หน้า 267-279. บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527. (LG 395 ก238 ธ36 2527)

กล่าวถึงประวัติความเป็นมา การก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง มาจนถึงสมัยที่เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  รวมถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยกับการเมืองที่มีมาตั้งแต่อดีตกระทั่งถึงปัจจุบัน และในอนาคต

“บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง : คำขวัญของคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ใน บัณฑิตธรรมศาสตร์ 2509, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2509. (LG 395 ก232 2509) (กว 09)

เป็นคำขวัญที่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มอบให้บัณฑิตธรรมศาสตร์ปี 2509 ความว่า

“วิสัยบัณฑิตผู้                         ทรงธรรม์
ไปเปลี่ยนไปแปรผัน               ไม่ค้อม
ไปขึ้นไม่ลงหัน                        กลับกลอก
กายจิตต์วาทะพร้อม               เพียบด้วยสัตยา”

“ไปกรุงเทพฯ 9-18 กุมภาพันธ์ 2516.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม, หน้า 75-82. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย. 2526. (DS 570. 6ป4)

บทความนี้แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นตารางเวลาการเดินทางของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และกำหนดการที่จะเข้าพบบุคคลสำคัญต่างๆ เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ตอนที่ 2 ดร.ป๋วย ได้กล่าวถึงเรื่องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีแล้ว และมีเสียงสนับสนุนให้ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นอธิการบดี มีการหยั่งเสียงลงมติ ผลออกมาปรากฎว่าดร.ป๋วยได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง หลังจากนั้น ดร.ป๋วยได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถด้วย

“รายงานของคณะเศรษฐศาสตร์ 2511-2512.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน สันติประชาธรรม , หน้า 147-156. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พระนคร : เคล็ดไทย, 2516. (DS 570. 6ป4)

เป็นบทความที่เขียนในเชิงรายงานความก้าวหน้าของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องนักศึกษา คณะอาจารย์ และโครงการต่างๆ ท้ายบทความเป็นคำปราศรัยระหว่างนักศึกษา และอาจารย์ นอกจากนี้ยังแนะนำคติที่ใช้สำหรับปฏิบัติตนของนักศึกษาอีกด้วย

“คณะเศรษฐศาสตร์จงเจริญ.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เศรษฐศาสตร์ 20 ปี, ไม่ปรากฎเลขหน้า. – - พระนคร : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2513. (HC 497 ท9ธ4)

ดร.ป๋วย เขียนบทความนี้ขึ้นในฐานะคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายละเอียดของบทความนี้ แยกได้เป็น 2 ส่วนคือ 1. การพัฒนาคณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึงนโยบายคณะเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2507 ในเรื่องการสะสมอาจารย์ประจำ การปรับปรุงหลักสูตรชั้นปริญญาตรี ส่งเสริมการอ่านตำรา สนรับสนุนผู้เข้าศึกษา กวดขันคุณภาพและอบรมนักศึกษา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงโครงการและหน้าที่ของท่านต่อการพัฒนาคณะในอนาคต 2. การพัฒนาบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพโดยท่านได้ให้คติเตือนใจในการปฏิบัติตน และการทำงานของบัณฑิตในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเอกสารเรื่อง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตุลาคม 2511 – ตุลาคม 2512 ซึ่งเป็นการรายงานความก้าวหน้าของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างปี 2511-2512 ประกอบด้วย

“ดร.ป๋วย กับหนังสือพิมพ์.” / ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ใน เหลียวหลัง แลหน้า. หน้า 59-90. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - กรุงเทพฯ : กองทุนเพื่อชนบท สำนักศูนย์บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519. (DS 570.6 ป55 ก315)

เป็นคำปราศรัยต่อสื่อมวลชน และอาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงรายละเอียดกรณีถูกกล่าวหา ในสาระ 3 ประการคือ 1.เรื่องราวที่ใบปลิวและข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์พาดพึงถึง 2. การที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ 3. เรื่องความปลอดภัยแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในตอนท้ายมีข้อซักถามของอาจารย์และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย

“ไขปัญหา.” / ศุขเล็ก. ใน เสียชีพอย่าเสียสิ้น, หน้า 298-301. โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์. – - พิมพ์ครั้งที่ 2. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523. (DS 570.6 ป 55 ก 3)

เป็นการถาม-ตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่ดร.ป๋วย ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการตัดสินใจไปเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ต่อที่มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ผู้ถามใช้นามแฝงว่า “นายเหลืองแดงบ้านนอก” ผู้ตอบคือ ประยูร จรรยาวงษ์ ซึ่งใช้นามแฝงว่า “ศุขเล็ก”

ผลงานของผู้อื่น

“โครงการจัดเก็บผลงานดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (โครงการ Puey’s Collection).” / คณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2527. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์, หน้า 16-19. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย. – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปีของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท 93 ป 53)

กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ Puey’s Collection คือมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมงานเขียนของดร.ป๋วย งานที่ผู้อื่นเขียนเกี่ยวกับตัวท่าน ผลงานในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งต่างๆ ตลอดจนสิ่งของบางอย่างที่เป็นสมบัติส่วนตัวของท่าน ซึ่งเก็บอยู่ในห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตการดำเนินงาน และการแยกประเภทเอกสารในห้องป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตอนท้ายให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหารายได้เข้าโครงการ Puey’s Collection

“โครงการห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์.” ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, หน้า 22-23. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท93 ป55)

กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และการดำเนินงานตามโครงการฯ ในอันที่จะขยายเนื้อที่และปรับปรุงห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ให้ทันสมัยโดยจะเปลี่ยนชื่อห้องสมุดเป็น “ห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์” และจะจัดทำ Puey’s Collection ไว้เป็นส่วนหนึ่งในห้องสมุด แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถหาสถานที่ถาวรสำหรับห้องสมุดได้

“ดร.ป๋วยกับธรรมศาสตร์.” / เสนีย์ สูงนารถ. สยาม (11 มีนาคม 2518) : 3. (มธ 1/อ 06)

กล่าวถึงสาเหตุที่ดร.ป๋วยไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งท่านได้ให้เหตุผลว่าท่านต้องการเป็นเสรีชน มีอิสรภาพในการวิพากษ์ วิจารณ์ปัญหาบ้านเมืองต่างๆ ถ้าเข้าไปในวงการเมืองแล้วจะทำไม่ได้ตามความต้องการ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงเหตุผลที่ดร.ป๋วย ตัดสินใจเข้าชิงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งผู้เขียนยังเขียนเปรียบเทียบด้วยว่า ดร.ป๋วย อาจจะหนีเสือปะจรเข้ก็เป็นได้

“ดร.ป๋วย คนดีที่ยังเหลืออยู่.” / พนัส หิรัญกสิ. แกรนด์เอ็กซ์ 27 (2527) : 18-20. (ปว55)

กล่าวถึงความสำคัญของห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และความจำเป็นในการปรับปรุงให้เป็นห้องสมุดเฉพาะสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อให้บริการทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พร้อมกับจะทำการเปลี่ยนชื่อเป็น “ห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์” ต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นการเทิดเกียรติคุณแด่ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความประทับใจในผลงานข้อเขียนต่างๆ ของดร.ป๋วย ซึ่งรวบรวมไว้ในห้อง Puey’s Collection ภายในห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ด้วย โดยได้นำข้อเขียนของท่านเกี่ยวกับประวัติชีวิต การศึกษา และความเป็นอยู่ของท่านเอง อันเป็นบทความตอนหนึ่งจากหนังสือสันติประชาธรรมมาเสนอแก่ผู้อ่าน

“ธรรม คืออำนาจ : แนวทางสำหรับประเทศไทยในความคิดของอาจารย์ป๋วย.” / สุรินทร์ พิศสุวรรณ. ใน ช่วงหนึ่งของกาลเวลา ป๋วย อึ๊งภากรณ์. โดยคณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการจัดงาน “นิทรรศการชีวิตและผลงานอาจารย์ป๋วย,” หน้า 67-69. – - กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัครองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโกมลคีมทอง, 2528. – - จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 69 ปี ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (HB 126 ท93 ป53)

กล่าวถึงการที่ดร.ป๋วยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นบุคคลอันตรายต่อประเทศชาติ ในฐานะเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะนั้นท่านต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งเป็นที่ไม่พอใจต่อเจ้าหน้าที่บ้านเมือง

ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งความหวัง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คนดีที่โลกต้องการ. / บุญเกิด งอกคำ. – - กรุงเทพฯ : วิวัตรศิลปต์การพิมพ์, 2526. (LG 395 ก 235 บ 65)

กล่าวถึงประสิทธิภาพความเป็นมาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย เริ่มตั้งแต่คณะที่เปิดสอน ปรัชญาการศึกษา อาจารย์รุ่นก่อตั้งมหาวิทยาลัย นักศึกษารุ่นแรก อาคารเรียน บทบาทของมหาวิทยาลัยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นักศึกษากับบทบาททางการเมือง ตลอดจนสมัยดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นคณบดี และอธิการบดี ซึ่งกล่าวถึงประวัติของท่านโดยสังเขปโดยกล่าวถึงประวัติส่วนตัว การศึกษาตำแหน่งหน้าที่การงาน และบทบาทของดร.ป๋วย ต่อการเมืองไทย

“ลักษณะของตราห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์.” / สุนทร วิไล. ใน คิดถึงอาจารย์ป๋วย, ปกใน. รวบรวมโดยคณะกรรมการห้องสมุดเศรษฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. – - กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวิตา, 2527. (HB 126 ท 93 ป 55)

แสดงให้เห็นถึงแบบสัญลักษณ์ห้องป๋วย อึ๊งภากรณ์ คือเป็นรูปหนังสืออยู่ในลักษณะเปิด มีลายเซ็นของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แสดงถึงการมีน้ำใจอันกว้างขวางจริงใจที่ได้อุทิศผลงานทางวิชาการในสาขาต่างๆ ของท่านให้กับมวลชนทั้งหลาย เหนือหนังสือจะมีดอกบัวที่กำลังเบ่งบานรองรับไว้ด้วยใบบัว แสดงถึงความสมบูรณ์ บริสุทธิ์ และความเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธิปัญญา เป็นเป้าหมายและความตั้งใจอย่างแท้จริงของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่อยากให้สังคมไทยเราอยู่อย่าง “สันติประชาธรรม” ดังได้ประดิษฐ์ไว้เหนือดอกบัว

“อ.ป๋วยกับคณะเศรษฐศาสตร์ บทบาทที่ไม่ควรลืม.” / เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. ใน คิดถึง อ.ป๋วย : คนดีที่เหลืออยู่, หน้า 13-17. – - กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง กรรมการนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527. (มธ2/อ33)

กล่าวถึงสาเหตุที่ดร.ป๋วยได้เป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทบาทของท่านในการพัฒนาคณะเศรษฐศาสตร์ให้เจริญก้าวหน้า ได้แก่การสร้างอาจารย์ การหาเงินทุนมาพัฒนาคณะ ริเริ่มโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร และการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพตลอดจนการเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์